ตะกร้าสินค้า - Cart

TCC KITCHEN

NUTRITION CENTER

แบ่งบันข้อมูลได้ที่ :

คุณงามความดี ของ “กะทิ” : ข้อดีต่างๆ ของ “กะทิ” ก็คือข้อดีของ “น้ำมันมะพร้าว” นั่นเอง.....

ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา ประธานชมรมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวแห่งประเทศไทย

 

คุณงามความดี ของ “กะทิ”

 

 

             “กะทิ” เป็นแหล่งที่มาของ “น้ำมันมะพร้าว” ซึ่งในปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมของคนไทย เพราะเป็นที่ประจักษ์ แล้วว่า

             “น้ำมันมะพร้าว” เป็นน้ำมันที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและความงาม เนื่องจาก “กะทิ” เป็นสารตัวเดียวกันกับ “น้ำมันมะพร้าว”

             ดังนั้นข้อดีต่างๆ ของ “กะทิ” ก็คือ ข้อดีของ “น้ำมันมะพร้าว” นั่นเอง ซึ่งได้แก่

 

  1.       “กะทิ” เป็นไขมันอิ่มตัว

       -          คือ ไม่เกิดการเติมออกซิเจนและไฮโดรเจน จึงทำให้ไม่เกิดอนุมูลอิสระ และไม่เกิดไขมันทรานส์ ที่เป็นอันตราย

                  ต่อสุขภาพ เพราะย่อยสลายได้ยากและทำให้เพิ่มคลอเลสเตอรอลชนิดเลวในเลือด ซึ่งมักเกิดจากอาหารที่

                 ใช้น้ำมันพืชในการทอดเป็นเวลานาน

 

  1.       “กะทิ” ย่อยได้ง่าย เพราะเป็นไขมันอิ่มตัวมีโมเลกุลขนาดกลาง

       -          เมื่อบริโภค “กะทิ” แล้วลงไปสู่กระเพาะเข้าสู่ลำไส้ จะถูกเผาผลาญให้เป็นพลังงานในตับ โดยไม่สะสมเป็นไขมัน

                  เหมือนกับน้ำมันไม่อิ่มตัวที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ และผู้บริโภค ”กะทิ” จะได้พลังงานทันที ผู้บริโภคจึงแข็งแรง

 

 

  1.       “กะทิ” ช่วยกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้ทำงานดีขึ้น

       -          ก่อให้เกิดความร้อน Thermogenesis ซึ่งช่วยในการเผาผลาญอาหาร ให้เปลี่ยนเป็นพลังงาน แทนที่จะไปสะสม

                  เป็นไขมันในร่างกาย ยิ่งกว่านั้นความร้อนที่เกิดขึ้น ยังไปช่วยสลายไขมันที่ร่างกายสะสมอยู่ก่อนหน้านั้น จึงทำให้

                  ผู้บริโภคผอมลงคำดังกล่าวที่ว่า Eat Fat Look Thin และนี่เองเป็นเหตุให้คนไทยสมัยโบราณไม่ค่อยมีใครอ้วน

 

 

  1.       “กะทิ” มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อและสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย

       -          ในน้ำมันมะพร้าวมี กรดลอริก ซึ่งเป็นสารตัวเดียวกันกับกรดไขมันที่มีในน้ำนมของมารดา (มีเพียง3-18%)

                   เมื่อบริโภคเข้าไปแล้ว กรดลอริก จะเปลี่ยนเป็น โมโนลอริน ที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและยังมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งเชื้อโรค ไม่

                  ว่าจะเป็นแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส หรือโปรโตซัว และกรดลอริกนั้นยังสามารถฆ่าเฉพาะเชื้อโรคที่มีเกราะหุ้มเป็น

                  ไขมันแต่ไม่ทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ที่มีอยู่ในร่างกายที่ไม่ได้มีไขมันเป็นเกราะหุ้ม

 

 

  1.       “กะทิ” มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

       -          ใน “กะทิ” มีแอนติอ็อกซิแดนซ์ (antioxdant) ประกอบด้วย วิตามินอี สารฟีนอล และสารไฟโตสเตอรอล

                  ที่ช่วยต่อต้านการเติมออกซิเจนของส่วนที่เป็นน้ำมันไม่อิ่มตัว 

 

ขอขอบคุณข้อมูลทางวิชาการ จาก : ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา ประธานชมรมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวแห่งประเทศไทย

INTERESTING ARTICLES

น้ำมะพร้าว...ชะลออัลไซเมอร์
Date : 23/04/2018
read more
ลดน้ำหนักได้จาก"กะทิ"
Date : 15/05/2018
read more
5 ประโยชน์ของน้ำมะพร้าว
Date : 30/11/1999
read more
เมื่อคนไทยถูกหลอก.....ให้เลิกบริโภค “กะทิ” และ “น้ำมันมะพร้าว”
Date : 05/02/2016
read more

Contact Us